วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

 

ตอบคำถามกิจกรรมท้ายบท

 

1.นโยบายมีความสำคัญต่องานเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไรบ้าง

ตอบ (1)นโยบายนั้นเป็นเครืองมือช่วยในการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารถึงแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานสามารถทราบแนวทางในการปฏิบัติงานด้วย
 
   (2)นโยบายช่วยให้การดาเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาของระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ เกิดความเชื่อมั่น และมีความมั่นใจในการดาเนินงานของตนเอง
 
   (3)นโยบายช่วยให้เกิดการดาเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาอย่างเป็นระบบ และเกิดแนวทางในการประสานงานให้การปฏิบัติงานดาเนินไปด้วยความสะดวก ตามภารกิจในแต่ละฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
 
   (4)นโยบายช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดให้เกิดแนวทางการพัฒนางานเทคโนโลยีการศึกษาด้านต่าง ๆ ของภาระงานนั้น ๆ
 
   (5)นโยบายช่วยให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของฝ่ายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาระงานตามเป้าหมายของการดาเนินงานเทคโนโลยีการศึกษา
 
   (6)นโยบายที่ดีนั้นสามารถช่วยให้เกิดการปฏิรูปการดาเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล และกระตุ้นให้การขับเคลื่อนแนวทางการปฏิบัติงานประสบความสาเร็จตามเป้าหมาย
 
   (7)นโยบายที่ดีนั้นสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับภาระงานเทคโนโลยีการศึกษา ให้เกิดความเชื่อมั่น
 
   (8)นโยบายที่ดีนั้นสามารถช่วยส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับในฝ่ายงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา เกิดความสามัคคี การทางานเป็นทีม และมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

2. จงสรุปและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีการศึกษามาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการศึกษาตามอัธยาศัย มา 4 นโยบาย พร้อมแหล่งอ้างอิง

ตอบ  1.นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (คณะรัฐมนตรี 2554, หน้า 25)
      (1)พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพด้วยราคาที่เหมาะสม และการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้าระหว่างสังคมเมืองและชนบท สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษา เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

    2.นโยบายการศึกษา (คณะรัฐมนตรี 2554, หน้า 28)
        
      (1)เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติโดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา
 
      (2)จัดให้มีระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 
      (3)พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความ เร็วสูง
 
      (4)ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
 
      (5)ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง
 
      (6)ปรับปรุงห้องเรียนนาร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
 
      (7)เร่งดาเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดาเนินตามภารกิจได้
 
    3.นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม(คณะรัฐมนตรี 2554 หน้า 31)

      (1)ส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอารยประเทศและประชาคมอาเซียน ร้อยเรียงผ่านเรื่องราวผ่านการสื่อสารรูปแบบใหม่และเทคโนโลยีทันสมัย ผลิตสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สื่อเคลื่อนไหว สารคดีและภาพยนตร์ รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารอันทันสมัย

      (2)พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการเพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

    4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554 หน้า 39-50)

      (1)ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้มาตรการทางภาษีในการสนับสนุนการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ และเป็นช่องทางสาหรับคนทุกกลุ่มวัยแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

      (2)เสริมสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาในระดับท้องถิ่น ชุมชน และประเทศ โดยพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมและบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

      (3)พัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับภูมิสังคม

      (4)พัฒนาและเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป อาทิ สถานศึกษา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์กีฬาและนันทนาการ

      (5) พัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นจากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และจัดให้มีการวิจัยเชิงประจักษ์ของชุมชน การจัดการองค์ความรู้ ในชุมชนอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3. มิติสาระนโยบายของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง

ตอบ   มิติที่ 1 มิติของการแก้ปัญหาทางการศึกษา กล่าวคือ เป็นการนาเทคโนโลยีการศึกษามาช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้าของการเข้าถึงการศึกษาระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายสื่อการศึกษาที่หลากหลายตอบสนองการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น
 
     มิติที่ 2 มิติของการพัฒนาประสิทธิภาพทางการศึกษา กล่าวคือ เป็นการนาเทคโนโลยีการศึกษามาช่วยปรับปรุงจากของการจัดการสึกษาเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาโดยพัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติโดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น

     มิติที่ 3 มิติของการก้าวทันความก้าวหน้าของสื่อและเทคโนโลยี กล่าวคือ นโยบายที่มุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการออกแบบ การพัฒนา การใช้ และการจัดการเทคโนโลยีการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา จัดหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในลักษณะ e-book, e-library และ courseware ที่มีคุณภาพและน่าสนใจให้ผู้เรียนได้ใช้ในการเรียนการสอนทุกระดับอย่างเพียงพอและทันเวลาในราคาที่เหมาะสม เป็นต้น
 
     มิติที่ 4 มิติของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ เป็นนโยบายที่ต้องการ

ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการแสวงหาความรู้ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ประชาชนทุก

คนได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการแสวงหาความรู้ สนับสนุนการให้มีการฝึกอบรมครู อาจารย์

ให้สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสามารถสอนให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง พัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นจากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และจัดให้มีการวิจัยเชิงประจักษ์ของชุมชน การจัดการองค์ความรู้ ในชุมชนอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น
 
     มิติที่ 5 มิติของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กล่าวคือ เป็นนโยบายที่ต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการต่าง ๆ เช่นนโยบายกระตุ้นให้เกิดชุมชน/สังคมเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เร่งส่งเสริมสนับสนุนให้มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันทางการศึกษาของรัฐและเอกชนเพื่อการผลิต การใช้ และการบารุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนและให้บริการทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ รวมทั้งเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง สร้างความร่วมมือกับสภาผู้สูงอายุ ในการจัดทาหลักสูตรและจัดอบรมความรู้ด้าน ICT รวมถึงการใช้ ICT เพื่อการทากิจกรรมในชีวิตประจาวัน เป็นต้น
 
     มิติที่ 6 มิติของการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา กล่าวคือ เป็นนโยบายใน
 
การส่งเสริมดำเนินการจัดการศึกษาโดยการใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุวัตถุ
 
ประสงค์ เช่น นโยบายพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสา
 
นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันทางการศึกษาของรัฐและเอกชนเพื่อการผลิต การ
 
ใช้ และการบารุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ให้สามารถจัดการ
 
เรียนการสอนและให้บริการทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพดาเนินการให้
 
กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดาเนินการตามภารกิจจัดสรรทรัพยากรสื่อสารสา
 
หรับโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Educational channel) ที่เป็น Free
 
TV ที่ประชาชนสามารถชมได้ตลอดเวลาส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและเผยแพร่เทคโนโลยี เครื่อง
 
มือ อุปกรณ์ ICT ที่มีราคาประหยัด ใช้งานง่าย เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยและผู้พิการสามารถใช้
 
ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม เป็นต้น     

4.ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ มี 2 ประเภท ได้แก่
   1.ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกาหนดการปฏิบัติงาน คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545)
 
   2.ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทาผิด ได้แก่

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติ

ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(กรณีครูลอกเลียนผลงานทางอินเทอร์เน็ต) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แล

สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons (CC)

5. การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ตอบ การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์



6. การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น

 

7. จงอธิบายความหมาย ของคำว่า “งานดัดแปลง” ตามคานิยามของสัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ ประเทศไทย

ตอบ งานดัดแปลง” หมายความว่า งานที่ทาซ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจาลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสาคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน


8. สัญลักษณ์นี้หมายถึงอะไร

ตอบ สามารถใช้งานดังกล่าวได้โดยต้องแสดงที่มา เว้นแต่ไม่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการค้า และไม่ให้ดัดแปลงผลงานดังกล่าวด้วย

 

9. การส่งสแปมเมล์ (Spam Mail) เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือไม่ อย่างไร

ตอบ ผิด เพราะการส่งสแปมเมล์ (Spam Mail) คือ การกระทาความผิดโดยใช้โปรแกรมหรือชุดคาสั่งส่งไปให้เหยื่อเป็นจานวนมาก  โดยปกปิดแหล่งที่มา IP address (หมายเลขอินเทอร์เน็ตซึ่งมักก่อให้เกิดความเสียหายเชิงเศรษฐกิจ หรือส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท


10. การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งขอมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่นำจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไวดังตอไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุกไมเกินหาปหรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
  (1)นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรปลอมไมวาทั้งหมดหรือบางสวน หรือขอมูล
คอมพิวเตอรอันเปนเท็จ โดยประการที่นาจะเกิดความเสียหายแกผูอื่นหรือประชาชน
 
  (2)นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรอันเปนเท็จ โดยประการที่นาจะเกิดความ
เสียหายตอความมั่นคงของประเทศหรือกอใหเกิดความตื่นตระหนกแกประชาชน
  
  (3)นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรใด ๆ อันเปนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการกอการรายตามประมวลกฎหมายอาญา
 
  (4)นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและขอมูลคอมพิวเตอรนั้นประชาชนทั่วไปอาจเขาถึงได้
 
  (5)เผยแพรหรือสงตอซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรโดยรูอยูแลววาเปนขอมูลคอมพิวเตอรตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา





    สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน
 
 
 


  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์ทางทะเล
                        



  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา (Institute of Marine Science, Burapha University) หรือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ ที่คุ้นเคยกันในชื่อ “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน” อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวบางแสน หรือสถานที่ท่องเที่ยวชลบุรี ไม่ควรพลาด หากได้มีโอกาศแวะเวียนมาเยือนบางแสน ชลบุรี



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน



   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน แห่งนี้เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล สิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน


  พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสนอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยบูรพา ก่อนถึงชายหาดบางแสน มีเนื้อที่ 30 ไร่ ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งมีสัตว์ทะเลนานาชนิดจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ และห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์

โครงกระดูกปลาวาฬขนาดใหญ่ จัดแสดงอยู่ตรงลานด้านหน้าก่อนเข้ามาในพิพิธภัณฑ์


ทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล

- นักศึกษาม.บูรพา ฟรี (แสดงบัตรนิสิต)
- ผู้ใหญ่ 80 บาท
- เด็ก 40 บาท
- ผู้ใหญ่ต่างชาติ 220
- เด็กต่างชาติ 120



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน
สื่อจำลองปลาที่่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน
 
 


โซนตู้แสดงเขตแนวป่าชายเลน ป่าโกงกาง


โซนแสดงปลาชนิดต่างๆ
                                 


บูธการทดลองและวิจัยเกี่ยวกับแมงกะพรุน




โซนของแมงกะพรุน






 
ป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุน




แมงกะพรุนนนนนนน
                                         


ชมสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับแมงกะพรุน
                               




แสดงการสาธิตการให้อาหารปลา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน สาธิตให้อาหารปลา
สาธิตการให้อาหารปลา







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน
แผนภูมิต้นไม่อธิบายอาณาจักรของสัตว์ทะเล
 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน
สื่อวัสดุจำลองหอยประเภทต่างๆ (โซนนี้อยู่ชั้น 2)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลบางแสน
สื่อวัสดุ 3 มิติ อธิบายถึงหอยประเภทต่างๆ (โซนนี้อยู่ชั้น 2)




ความรู้ที่ได้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
 
ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับปลาทะเลมากมาย
เช่น     -ราชาแห่งท้องทะเล คือ ปลาฉลาม
      -ราชินี คือ ปลาสิงโตปีกยาว
รู้เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ
วิธีการสังเกตและเอาตัวรอดเมื่อเราจากปลาฉลาม
   - ถ้าปลาฉลามต้องการจะได้เหยื่อ ปลาฉลามจะว่ายวนรอบตัวเหยื่อ 
  - ปลาฉลามที่มีสามเหลี่ยมขึ้นมาเหนือน้ำ เป็นปลาฉลามที่อันตราย รีบหนีให้เร็วที่สุด
ได้รู้วิธีการแก้พิษแมงกะพรุนเบื้องต้น
  - เอาน้ำส้มสายชูราด ล้างออกด้วยน้ำสะอาดและรีบไปโรงพยาบาล




ความประทับใจจากการมาเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



 
  สถาบันแห่งนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งหนึ่งที่น่าสนใจ และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฉันรู้สึกดีใจอย่างมากที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมที่นี่ และการมาในครั้งนี้ทำให้ได้ความรู้ไปไม่น้อย ขอขอบคุณอาจารย์ วิทยากร ที่เปิดโอกาสให้นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์เอกการสอนภาษาจีน มาเยี่ยมชมและเก็บเกี่ยวความรู้ สัญญาว่าถ้ามีโอกาสจะมาเยี่ยมชมอีกแน่นอน


 
 นางสาว ชรินรัตน์  มากสอน เซค1 เลขที่ 17    59040536


แหล่งอ้างอิง
http://www.chonburi-guru.com/institute-of-marine-science-bangsan/


วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา



ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ห้องสมุดแห่งรอยยิ้ม

             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา


ห้องสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นห้องสมุดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย 
โดยสำนักหอสมุดนั้น ตั้งอยู่ ณ อาคารเทพรัตนราชสุดา เป็นอาคารสูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร ซึ่งได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระราชทานชื่อและเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เป็นต้นมา เปิดให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา และบุคคลภายนอกทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 – 22.00 น. ระหว่างภาคการศึกษาปกติ และแต่ละชั้นมีการแบ่งส่วนบริการแก่ผู้รับบริการดังต่อไปนี้ค่ะ


           ชั้น 1 Cafe@library

แหล่งนัดพบ ทานอาหาร และพูดคุยกันระหว่างนักศึกษา นอกจากนี้ในช่วงสอบยังเปิดให้บริการตลอด 24 ชม. เป็นแหล่งพบปะนัดอ่านหนังสือทำรายงานได้ โดยสำนักหอสมุด ม.บูรพา ได้จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้บริการบริเวณโถงชั้น 1

PB170775PB170777PB170774PB170775

ชั้น 2 ฝ่ายบริการสิ่งพิมพ์ (หนังสือต่างประเทศ)
จุดต่อมาชั้น 2 ทางเข้าหอสมุด เมื่อเดินผ่านประตูเข้าออกอัตโนมัติด้วยระบบสแกนบัตรมาแล้ว จะเห็นจอทีวีขนาดใหญ่แสดงฐานข้อมูล E-news ติดๆกันมีหน้าจอ touch screen บริการสืบค้นข้อมูล และเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน 

ป้ายทางเข้าสำนักหอสมุด ม.บูรพา
ป้ายทางเข้าสำนักหอสมุด ม.บูรพา
PB170714
บริเวณทางเข้าหอสมุด ชั้น 2
PB170718
เคาท์เตอร์บริการยืมคืน และติดตั้ง VPN


PB170716
Book showroom มุมหนังสือใหม่ การ์ตูนและนันทนาการ
PB170717
โซฟานั่งอ่านนุ่มๆ กับนักศึกษา
PB170720
มุม Mini TCDC & SET Corner
PB170723
บริการ Tablab
PB170724
App. และหนังสือสามมิติเปิดโลกการเรียนรู้
ชั้น 3 ฝ่ายบริการสิ่งพิมพ์ (หนังสือภาษาไทย)
บริการสิ่งพิมพ์ภาษาไทย วิทยานิพนธ์ และนวนิยายเรื่องสั้น รวมถึงร้านถ่ายเอกสารเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ
PB170761 PB170762 PB170763 PB170765
ชั้น 4 ฝ่ายเอกสารและวารสาร
นอกจากจะบริการพื้นที่อ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสารทั้งในและต่างประเทศแล้ว ชั้น 4 ยังมีมุมสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยบูรพาที่จัดคอลเลคชั่นหนังสือและตกแต่งพื้นที่แบบ Chinese Modern ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและที่นั่งอ่านหนังสือค่ะ

PB170747 PB170748 PB170753 PB170756

ชั้น 5 ฝ่ายส่งเสริมการใช้บริการ
บริการวิทยานิพนธ์ วารสารเย็บเล่ม หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ และ ห้องบัณฑิตศึกษา ซึ่งจัดไว้เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบัณฑิตศึกษาด้วยกันทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กับ Quiet Zone สำหรับผู้รับบริการที่ต้องการความสงบและสมาธิในการอ่านหนังสือ
PB170740 PB170741 PB170742 PB170745
ชั้น 6 ฝ่ายโสตทัศนศึกษา
ชั้นสุดท้าย เราเดินทางกันมาถึงโลกดิจิทัลค่ะ Cyber Zone บริการห้องคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา สื่อสารสนเทศประเภท VDO, CD และ DVD และมุม Smart&Smile ที่จะคอยต้อนรับผู้รับบริการด้วย Tablab เพื่อคนวัยดิจิทัลค่ะ
PB170734 PB170733 PB170732 PB170738    
 
นอกจากนี้ในแต่ละชั้นของห้องสมุดจะตั้งเคาน์เตอร์บริการและมีเจ้าหน้าที่คอยประจำอยู่เพื่ออำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม แก่ผู้รับบริการ รวมถึงบริการ VPN โดยสามารถนำเอาแล็ปท็อปมาให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งให้เพื่อเข้าใช้งานฐานข้อมูลต่างๆได้โดยสะดวกจากภายนอกมหาวิทยาลัย
PB170726 PB170738
นอกจากนี้รถลากหนังสือก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่น่าสนใจและดูน่ารักมากๆของห้องสมุด ม.บูรพา โดยจัดเตรียมไว้สำหรับขนหนังสือหลายๆเล่มระหว่างที่ไปดูตามชั้นหนังสือ นอกจากจะทำให้ผู้รับบริการสะดวกขึ้นยังช่วยถนอมหนังสือไม่ให้บอบช้ำด้วยล่ะค่ะ

ห้องสมุด ม.บูรพาถือเป็นอีกห้องสมุดหนึ่งที่เน้นการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ มีมุมเล็กมุมน้อยให้เข้าไปค้นหาและผ่อนคลาย สบายๆ ส่งเสริมผู้รับบริการด้วยรอยยิ้มและความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ทุกๆคน ด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตรและเชิญชวนให้เข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งนี้ค่ะ
PB170768PB170769

PB170739
     ในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมีสื่อมากมายที่ช่วยให้นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็ว มีความทันสมัย มีพื้นที่ให้ผ่อนคลาย ทั้งยังมีการบริการต่างๆที่ดี มีผู้ที่คอยแนะนำการใช้ และยังสามารถใช้บริการด้วยตัวเองผ่านทางเว็ปไซด์หอสมุดของมหาวิทยาลัยได้

 

มีพื้นที่ให้สืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด & สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์



Single Sign On

เป็นการเข้าระบบนอกพื้นที่ โดยไม่ต้องติดตั้ง  VPN












- DATABASES



ThaiLIS TDC












Web PAC

สามารถทราบว่าหนังสือวางอยู่ตำแหน่งใด สะดวกในการค้นหา เเละยังสามารถตรวจสอบการยืม-คืน การจองได้



มีห้องอื่นๆที่ให้ใช้บริการ เช่น ห้องสำหรับดูหนัง ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องศึกษากลุ่ม เป็นต้น









อ้างอิงhttp://203.131.219.167/km2559/2014/11/24/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3/